UFABETWIN การ ทั้งหมดใน สู่ หายนะ : เบื้องหลังเน่าเฟะบนหน้าฉากสุดโรแมนติกของ ดาร์บี้ เคาน์ตี้
หากคุณติดตามฟุตบอลต่างประเทศ คุณคงได้รับทราบว่า ดาร์บี้ เคาน์ตี้ สโมสรที่มี เวย์น รูนี่ย์ อดีตตำนานนักเตะของ แมนฯ ยูไนเต็ด เป็นเฮดโค้ช ได้ร่วงตกชั้น จาก เดอะ แชมเปี้ยนชิพ สู่ ลีก วัน ในฤดูกาล 2022-23 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ทุกคนรู้ดีว่าทีม ๆ นี้พยายามสุดชีวิตในการเรียกสปิริตนักสู้ สร้างตำนานคว่ำทีมหัวตารางเพื่อความอยู่รอดตลอดมาทั้งซีซั่น แต่มันก็ไม่ดีพอ เมื่อพวกเขาถูกลงโทษตั้งแต่ก่อนเปิดฤดูกาลให้โดนตัดแต้มถึง 21 คะแนน อันเป็นต้นเหตุสำคัญของการตกชั้นครั้งนี้
บนหน้าฉากสุดโรแมนติกและการสวมวิญญาณนักสู้ ความจริงที่ซ่อนอยู่มันเละยิ่งกว่านั้น เพราะการโดนตัด 21 แต้มนั้นมีเหตุผลที่ไม่น่าให้อภัย จนถึงขั้นมีการสาปส่งคนที่ทำให้เรื่องนี้เกิดขึ้นจนทุกวันนี้
นี่คือเบื้องหลังอันเน่าเฟะที่เกิดขึ้น ของการ ทั้งหมดใน หายนะที่ถูกเริ่มขึ้นที่นี่
คืบเดียวอันแสนหอมหวาน
แม้ว่าฟุตบอลรายการ “อีเอฟแอล แชมเปี้ยนชิพ” จะเป็นเพียงฟุตบอลลีกรองของประเทศอังกฤษ อย่างไรก็ตามนี่คือลีกฟุตบอลที่ทำรายได้มากเป็นอันดับ 6 ของโลก
จากการเปิดเผยของสถาบันบัญชีชื่อดังอย่าง เปิดเผยว่า ในฤดูกาล 2016-17 ทีมทั้ง 24 ทีมจากศึกแชมเปี้ยนชิพ ทำรายได้รวมกันได้ถึง 720 ล้านปอนด์ หรือ 835 ล้านยูโร (ราว 29,000 ล้านบาท) เป็นรองแค่ 5 ลีกหลักของยุโรป อย่าง พรีเมียร์ลีก, บุนเดสลีกา, ลา ลีกา, กัลโช เซเรีย อา และ ลีกเอิง เท่านั้น
แต่ต่อให้มีตัวเลขรายรับมากเท่าไหร่ อย่างไรเสียตัวเลขรายรับของทีมระดับแชมเปี้ยนชิพนั้นก็ยังคงห่างไกลจากทีมในลีกสูงสุดของประเทศอย่างพรีเมียร์ลีกอยู่ดี เพราะจากรายได้ที่เรากล่าวมาของทีมในแชมเปี้ยนชิพนั้น ยังคิดเป็นเพียงแค่ 16% จากรายได้ทั้งหมดของทีมในพรีเมียร์ลีกเท่านั้น
นั่นคือเหตุผลว่าทำไมการพยายามจะไต่ขึ้นจากลีกรองสู่ลีกสูงสุดจึงเป็นสิ่งที่หลายสโมสรพยายามอย่างมาก พวกเขาระดมทุกอย่างที่มีเพื่อชิงตั๋วเลื่อนชั้น ซึ่งมีรายได้มหาศาลกว่า 100 ล้านปอนด์รออยู่ ยิ่งอยู่รอดไม่ตกชั้นจากลีกสูงสุดได้ คุณก็จะได้เงินอีกราว ๆ 100 ล้านปอนด์เข้าคลังของสโมสร … แบบนี้ใครบ้างไม่อยากเลื่อนชั้น ไม่เว้นแม้กระทั่ง ดาร์บี้ เคาน์ตี้
ดาร์บี้ เคยเป็นทีมขาประจำของพรีเมียร์ลีกในยุคแรก ๆ หลังจากรีแบรนด์เปลี่ยนชื่อใหม่ในปี 1992 ก่อนที่เมื่อเข้าสู่ช่วงยุค 2000s เป็นต้นมาจะกลายเป็นทีมระดับขึ้น ๆ ลง ๆ ระหว่างลีกสูงสุดกับลีกรอง น่าเสียดายที่ตอนนั้นเม็ดเงินและรายได้ของทีมในลีกสูงสุดยังไม่มากเท่าปัจจุบัน นั่นจึงทำให้ ดาร์บี้ ไม่ได้ทำเงินถึงขั้นที่อยู่สบาย ๆ เป็น 10 ปีแบบที่ทีมอย่าง นอริช, ฟูแล่ม, บอร์นมัธ หรือ เบิร์นลี่ย์ ที่ต่อให้ตกชั้นและเลื่อนชั้นบ่อย ๆ แต่ทีมเหล่านี้ก็มีตัวเลขในบัญชีที่เป็นสีเขียวโดยไม่มีหนี้เสียที่ไม่สามารถหาเงินมาโปะได้
กลับมาที่ ดาร์บี้ อีกครั้ง ฤดูกาลสุดท้ายที่พวกเขาเล่นในพรีเมียร์ลีกคือฤดูกาล 2007-08 ซีซั่นนั้น ดาร์บี้ พร้อมด้วยกลุ่มนักเตะที่คุณภาพไม่ได้ดีมากนักทำสถิติเป็นสโมสรที่ทำแต้มได้น้อยที่สุดตั้งแต่เข้ายุคพรีเมียร์ลีก ด้วยการเก็บได้แค่ 11 คะแนน จาก 38 นัด กลายเป็นบ๊วยของลีกและต้องตกชั้นไปอย่างรวดเร็ว
ช่วงเวลาหลังจากนั้นสโมสรพยายามอย่างหนักที่จะเลื่อนชั้น แต่ด้วยความที่พวกเขานั้นไม่ใช่ทีมนายทุนและอยู่ได้ด้วยรายรับจากเรื่องของฟุตบอลและพาณิชย์อย่างเดียว จึงทำให้ทีมไม่สามารถทุ่มแบบตู้มเดียวเพื่อเลื่อนชั้นกลับสู่ลีกสูงสุดได้ใน 3 ปีหลังจากตกชั้น ดาร์บี้ ไม่เคยสามารถทำอันดับเข้ามาอยู่ในกลุ่มอันดับ 1-6 เพื่อเลื่อนชั้น หรือเข้าไปเล่นรอบเพลย์ออฟลุ้นอีกเฮือกได้เลยแม้แต่ครั้งเดียว
ในขณะที่แฟนบอลของพวกเขากำลังจะทำใจยอมรับสภาพกับความจริงที่เกิดขึ้นว่าการเลื่อนชั้นอาจจะเป็นไปไม่ได้ในเร็ววัน แสงสว่างปลายอุโมงค์ก็เกิดขึ้น เมื่อนักธุรกิจท้องถิ่นที่ชื่อว่า เมล มอร์ริส ผู้มีทรัพย์สินรวมกว่า 500 ล้านปอนด์เข้ามาเทคโอเวอร์ทีมในปี 2014 และชายคนนี้ก็คือผู้เริ่มต้นเรื่องราวทั้งหมดแบบขึ้นสุดลงสุดสำหรับทัพแกะเขาเหล็ก … หลังจากนี้เป็นต้นไป
“ผมพูดตรง ๆ คนที่ผมไม่พอใจที่สุดในเรื่องนี้ก็คือ เมล มอร์ริส เขาคือคนที่ทำให้พวกเราทุกคนต้องมาอยู่ในสถานการณ์ที่ย่ำแย่แบบนี้” ประโยคนี้กล่าวโดย เวย์น รูนี่ย์ กุนซือคนปัจจุบันของดาร์บี้ เมื่อไม่กี่เดือนก่อน…
เมล มอร์ริส ผู้หอบเงินกว่า 500 ล้านปอนด์เข้ามา กลายเป็นคนที่โดนแฟนบอลดาร์บี้ตราหน้าได้อย่างไร ?
ลุยเลยครับผมรับผิดชอบเอง
เมล มอร์ริส พยายามแสดงตัวกับแฟนดาร์บี้ว่าเขาเป็นพวกเดียวกัน เขายืนยันว่าตัวเองเป็นแฟนบอลเดนตายของดาร์บี้ และมีแพชชั่นในการบริหารทีมครั้งนี้เพื่อการเลื่อนชั้นให้เร็วที่สุด
“ผมเคยทำงานเป็นผู้อำนวยการสโมสรของทีมนี้ในยุคท่านประธาน ปีเตอร์ แกดสบี้ จากวันนั้นถึงวันนี้ผมมีอารมณ์ร่วมกับทีม ๆ นี้มาเสมอ แฟนบอลของเราสุดยอด พวกเขาคลั่งไคล้และรักสโมสรมากกว่านักธุรกิจหลายคนที่เคยผ่านมา เรามีแฟนบอลกว่า 2 หมื่นคนที่ซื้อตั๋วปีของสโมสร ดังนั้นจงมั่นใจว่าผมจะตอบแทนพวกเขาทุกคน” เมล มอร์ริส กล่าว และเขาก็เริ่มแสดงศักยภาพของนักลงทุนให้แฟน ๆ ได้เห็นจริง
มอร์ริส อนุมัติเงินมากกว่า 20 ล้านปอนด์ในตลาดซื้อขายฤดูกาล 2015-16 เงินจำนวนนี้ถือว่าเยอะมาก ๆ สำหรับทีมในระดับแชมเปี้ยนชิพ ซึ่ง ดาร์บี้ ได้นักเตะทั้งหมด 10 คนในตลาดครั้งนั้น โดย 8 จาก 9 คน คือนักเตะที่มีประสบการณ์ระดับพรีเมียร์ลีกมาแล้ว ประกอบด้วย เจสัน แชคเคลล์ (3 ล้านปอนด์ จาก เบิร์นลี่ย์), ดาร์เรน เบนต์ (ฟรี จาก แอสตัน วิลล่า), สกอตต์ คาร์สัน (ไม่เปิดเผยค่าตัว จาก วีแกน), อเล็กซ์ เพียร์ซ (ฟรี จาก เรดดิ้ง), คริส แบร์ด (ฟรี จาก เวสต์บรอมวิช), อันเดรียส ไวมันน์ (2.75 ล้านปอนด์ จาก แอสตัน วิลล่า), ทอม อินซ์ (4.75 ล้านปอนด์ จาก ฮัลล์) ก่อนที่วันสุดท้ายของตลาดซื้อขายพวกเขาจะได้ตัว เจค็อบ บัตเตอร์ฟิลด์ จาก ฮัดเดอร์สฟิลด์ มาในราคา 4 ล้านปอนด์ และ แบรดลีย์ จอห์นสัน จาก นอริช ด้วยค่าตัว 6 ล้านปอนด์ เขายืนยันหลังปิดตลาดซื้อขายครั้งนั้นอีกครั้งว่า
“เราต้องการไปยังพรีเมียร์ลีก แต่เราต้องการไปยังตำแหน่งที่เราสามารถเอาตัวรอดในพรีเมียร์ลีกได้ ถ้าเราทำสำเร็จนั่นจะเป็นสิ่งที่แตกต่างออกไปมาก” มอร์ริส อธิบาย กับ
การเสริมทัพแบบนี้ถ้าได้เลื่อนชั้นก็ถือว่าเป็นการลงทุนที่งอกเงย เพราะเงินที่จะได้กลับมานั้นคุ้มค่าแน่นอน แต่อย่างที่เรารู้กัน ทุกอย่างมีความเสี่ยงเสมอ การทำทีมฟุตบอลไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว แม้จะได้นักเตะดี ๆ มาเสริมทัพหลายคนแต่ก็ใช่ว่าความสำเร็จจะมาในทันที
ดาร์บี้ จบอันดับที่ 5 ในฤดูกาล 2015-16 ดีที่สุดตั้งแต่พวกเขาตกชั้นมาในปี 2008 แต่ถึงอย่างนั้นสำหรับฟุตบอลเดอะ แชมเปี้ยนชิพ ไม่ว่าคุณจะจบอันดับที่ 3 หรือ 19 มันก็ไม่แตกต่างกันมากนัก ตราบใดที่คุณไม่สามารถเลื่อนชั้นได้ … ซึ่งอันดับ 5 ของ ดาร์บี้ ก็แทบไม่มีค่าอะไรในบั้นปลาย เพราะพวกเขาเข้าไปเพลย์ออฟและแพ้ให้กับ ฮัลล์ ซิตี้ 2-3 ต้องเล่นในลีกรองต่อไปอย่างน้อยอีก 1 ปี
เมล มอร์ริส อนุมัติงบเสริมทีมอีก 10 ล้านปอนด์ในปีต่อมา รวมถึงการจ้างอดีตโค้ชทีมชาติอังกฤษอย่าง สตีฟ แม็คคลาเรน เข้ามาคุมทีม ต่อด้วยปีต่อมากับกุนซือหนุ่มอย่าง แฟรงค์ แลมพาร์ด และนักเตะใหม่อีกจำนวนหนึ่ง แต่ก็อย่างที่พวกเรารู้กัน ดาร์บี้ ก็ยังคงไม่สามารถเลื่อนชั้นได้ พวกเขาทำได้ดีที่สุดแค่เข้าชิงเพลย์ออฟในฤดูกาล 2018-19 ก่อนจะจบลงด้วยการแพ้ให้กับ แอสตัน วิลล่า
ยิ่งลงทุน เงินก็ยิงจม ทำให้หลายคนชักสงสัยว่าดาร์บี้ในยุคของ เมล มอร์ริส จะประสบปัญหาเรื่องการเงินหรือไม่ ? เพราะปัจจุบันมีกฎที่เรียกว่า ไฟแนนเชียล แฟร์เพลย์ หรือเรียกง่าย ๆ ว่ากฎทางการเงินที่ต้องการให้แต่ละสโมสรใช้เงินแต่พอตัวให้สมดุลกับรายรับรายจ่ายของสโมสร เพื่อป้องกันไม่ให้ทีมต้องล้มละลายและต้องยุบทีมทิ้งจนเสียประวัติศาสตร์ที่ทำมาตลอดหลายทศวรรษ รวมถึงเป็นการทำร้ายแฟนบอลของตัวเอง
เมล มอร์ริส เลิกคิ้วให้กับคำถามเรื่อง และพยายามตอบกลับไปว่า “ไม่กังวล” เพราะเมื่อไหร่ที่ทีมเลื่อนชั้นได้หนี้ทั้งหมดของสโมสรจะถูกลบทิ้ง และตัวเลขในบัญชีของพวกเขาจะเปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีเขียวอีกครั้ง
“เราเป็นหนึ่งในสโมสรที่แข็งแกร่งและชัดเจนมากในการสนับสนุนแนวคิดของ เรารู้สึกสบายใจที่ในปีนี้เราจะอยู่ภายใต้แนวทาง ” เขากล่าวไว้อย่างมั่นใจ แต่ความจริงกลับสวนทาง เพราะเขาเองกำลังใกล้จะหมดทุนไปเรื่อย ๆ จากการพยายามเลื่อนชั้นที่ไม่ประสบความสำเร็จมาตลอด 6 ปี (ตั้งแต่ปี 2015 ถึง 2021)
แม้ปากจะบอกว่า ไม่ใช่เรื่องน่ากังวลแต่ความจริง เมล มอร์ริส รู้ดีว่านี่คือเรื่องใหญ่มาก และเขาก็ได้ทำอะไรลงไปบางอย่างโดยที่ไม่บอกให้ใครรู้ 1 เรื่อง ซึ่งเรื่องนี้กลายเป็นเรื่องร้ายแรงที่ทำให้คดีพลิกเปลี่ยน ดาร์บี้ จากตัวเต็งเลื่อนชั้นสู่ทีมที่มีสถานะลงเล่นใน ลีกวัน (ดิวิชั่น 3) ในฤดูกาลหน้า
ช่วงเวลารับกรรม
“ตลอดหลายปีที่ผ่านมา เมล มอร์ริส ใช้เงินมหาศาลเพื่อพยายามไปให้ถึงสิ่งที่เขาวาดฝันไว้นั่นคือพรีเมียร์ลีก แม้พวกเราจะเข้าใกล้ขนาดไหนแต่เราก็ไม่เคยคว้ามันมาได้”
“ความพยายามที่ล้มเหลวทำให้เราเริ่มมีปัญหาเรื่องกฎทางการเงิน เมล พยายามจะแก้ไขตัวเลขในบัญชีด้วยการซื้อสนามจากสโมสรเพื่อให้ทีมยังไม่ผิดกฎ ภายใต้กฎหมายของฟุตบอลลีกอังกฤษ” นี่คือสิ่งที่ ไรอัน ฮิลล์ส ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับสโมสรดาร์บี้ที่มีชื่อว่า อธิบายถึงความวุ่นวายของทีมในเวลานี้
สิ่งที่เพิ่มเติมจากที่ ไรอัน ฮิลล์ส บอกคือการพยายามเอาเงินมาโปะในส่วนต่าง ๆ หรือเรียกง่าย ๆ ว่าเป็นการตบแต่งบัญชีที่ กลายเป็นเหมือนการซุกปัญหาไว้ใต้พรม เขาไม่ยอมรับความจริงว่าสายป่านของเขาไม่ยาวพอและควรยกมือยอมแพ้ชั่วคราวโดยวางเป้าหมายในการเลื่อนชั้นไว้สักพัก แต่เขากลับทำในสิ่งที่ตรงกันข้ามคือการหลอกตัวเองและสู้ไปจนสุดทาง
มันเหมือนเป็นการเดิมพันที่มีโอกาสชนะน้อยกว่า 50% และบังเอิญว่า เมล มอร์ริส เองก็เดิมพันผิดฝั่ง ดาร์บี้ ไม่สามารถเลื่อนชั้นได้ เขาและสโมสรก็เริ่มเข้าตาจน การซื้อสนามของสโมสรตัวเองส่งกลิ่นไปถึงเจ้าหน้าที่ EFL พวกเขาจึงเรียกร้องให้ ดาร์บี้ แสดงการเดินบัญชีของพวกเขาตั้งแต่ปี 2016 เป็นต้นมาอีกครั้งเพื่อขอตรวจสอบอย่างละเอียด
จากนั้นก็ไม่ใช่แค่กลิ่นตุ ๆ เท่านั้นที่โชยออกมา มีการตรวจสอบพบว่า ดาร์บี้ ได้ทำละเมิดกฎทางการเงินในเดือนสิงหาคมปี 2020 ที่เกี่ยวข้องกับการ “ตบแต่งบัญชี” โดยในที่นี้หมายถึงการที่พวกเขาปลอมแปลงเรื่องมูลค่าของนักเตะตัวเอง ซึ่งทำให้ลดการขาดทุนไปได้รวมแล้วเกิน 30 ล้านปอนด์ตลอดช่วงระหว่างปี 2015-18 หรือเรียกให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือการบอกว่าสโมสรได้กำไรในแต่ละปีงบประมาณเพื่อให้ผ่านกฎทางการเงิน แต่จริง ๆ แล้วพวกเขาขาดทุนมาทุกปีนั่นเอง
ทั้งหมดทำให้ ดาร์บี้ ถูกเข้าสู่กระบวนการที่เรียกว่า “การฟื้นฟูกิจการ” ซึ่งเมื่อเข้าสู่กระบวนการนี้ผู้บริหารของทีมจะต้องยกสโมสรให้กับทาง เข้ามาบริหารงานแทน
ทีนี้แหละเมื่อคนเอาคนนอกที่ตั้งธงว่าจะ “เข้ามาบริหารเพื่อหาข้อผิดพลาด” ก็ทำให้ความจริงของการบริหารสมัย เมล มอร์ริส โผล่มาอีกและหนักข้อยิ่งกว่าเก่า นั่นคือมีการตรวจสอบการจ่ายภาษีย้อนหลังของสโมสร และทีมผู้บริหารจาก พบว่า เมล มอร์ริส ไมได้จ่ายภาษีใด ๆ ในนามสโมสรมาหลายปี เขาปล่อยให้สโมสรติดหนี้ หรือสรรพากรและศุลกากรของสหราชอาณาจักร ทั้งหมด 25 ล้านปอนด์ ดังนั้นการปรับย้อนหลังจึงเกิดขึ้นทันที
“เรายังมีหนี้เงินกู้จำนวนหนึ่งกับกลุ่มที่เรียกว่า การกู้เงินนี้ทำให้ เมล จะเป็นเจ้าของสนามของทีม และสโมสร ดาร์บี้ เคาน์ตี้ ไม่ได้เป็นเจ้าของสนามซ้อมแล้ว เราไม่มีทรัพย์สินที่สามารถขายได้ ทีมของเราทั้งหมดมีสภาพอย่างเหลือเชื่อ คู่เซ็นเตอร์แบ็กของเราคือ เคอร์ติส เดวี่ส์ และ ริชาร์ด สเตียร์แมน (อายุเกิน 35 ปีแล้วทั้งสิ้น) เราต้องขายนักเตะดาวรุ่งฝีเท้าดีออกจากทีมไปหลายคน แต่เงินที่หามาได้จากการขายนักเตะก็ไม่เพียงพอที่จะทำให้เราออกจากสถานการณ์นี้ได้อยู่ดี” ไรอัน ฮิลล์ส สรุปความหายนะทั้งหมดอย่างรวบรัด
ทั้งหมดนี้คือเหตุผลที่ ดาร์บี้ เคาน์ตี้ ลงแข่งขันในฤดูกาล 2021-22 ด้วยการติดลบ 21 คะแนน แบ่งเป็น 12 คะแนนจากการถูกควบคุมกิจการ และอีก 9 คะแนนจากการทำผิดกฎการเงิน และนั่นก็มากพอที่จะทำให้พวกเขาตกชั้นลงไปเล่นใน ลีก วัน ฤดูกาลหน้าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
แม้ว่าที่สุดเรื่องราวการสู้เพื่อความอยู่รอดของ เวย์น รูนี่ย์ และลูกทีมจะถูกกล่าวขานจนเหมือนกับเรื่องราวสุดโรแมนติกในโลกของฟุตบอลหลาย ๆ เรื่อง แต่เบื้องหลังความโรแมนติกนี้เกิดขึ้นจากการบริหารงานที่ไม่ได้วางแผนระยะยาว คิดแต่สิ่งที่จะตามมาในแง่บวก นั่นคือเงินจำนวนมากกว่า 100 ล้านปอนด์หากเลื่อนชั้นได้ แต่ไม่เผื่อใจและวางแผนรองรับในกรณีที่ผลลัพธ์ไม่ได้ออกมาตามที่ต้องการ หากกรณีที่ทีมเลื่อนชั้นไม่ได้แล้วสโมสรจะต้องขาดทุนเท่าไหร่
ซ้ำร้ายเมื่อประสบปัญหาขาดทุนชักหน้าไม่ถึงหลัง ทีมงานของ ของ เมล มอร์ริส และเหล่าแชร์แมนของเขากลับเลือกสู้ด้วยวิธีการเล่นใต้โต๊ะ ไม่ได้เข้าตามตรอกออกตามประตู ในที่สุดแล้วสโมสรก็ค่อย ๆ สูญเสียบางอย่างไปทีละเล็กทีละน้อย จากนักเตะเกรดดีของทีมสู่นักเตะดาวรุ่ง จากสนามสนามซ้อมสู่สนามเหย้า จนกระทั่งไม่เหลืออะไรที่มีค่าจนทีมต้องรับผลกรรมด้วยชำระหนี้ด้วยการถูกตัดแต้มแทนการชดใช้ด้วยเงิน…
และตอนนี้พวกเขาต้องไปเริ่มนับ 1 กันใหม่อีกครั้ง แม้แฟนบอล นักเตะ และโค้ชอย่าง เวย์น รูนี่ย์ จะพยายามอย่างสุดชีวิตแล้วก็ตาม